หน้าหลัก หน้าหลัก < หน้าหลัก

       คุณกล้าเสี่ยงมั้ย?? ติดแก๊สกับอุปกรณ์แก๊สที่ไม่ได้มาตราฐาน..  

 คุณมั่นใจได้อย่างไร ว่าอุปกรณ์แก๊สที่คุณเลือกนั้น ได้มาตราฐานความปลอดภัย

 หากเกิดอุบัติเหตุที่ไม่คาดคิด อยากประหยัด ต้องไม่ลืมเรื่องความปลอดภัย

 กับการติดตั้งอุปกรณ์มาตรฐานระดับโลก


  ติดแก๊ส ติดความปลอดภัย ติด Energy Reform






 

 ข้อดีและข้อเสียของการติดแก๊สรถยนต์

 

                หากจะพูดถึงปัญหาพลังงานในตอนนี้คงไม่มีใครหนีพ้นปัญหาราคาน้ำมัน ทั้งน้ำมันที่ใช้เป็นเชื้อเพลิง และใช้ในครัวเรือน LPG หรือ Liquid Petroleum Gas นั้น นับว่าเป็นพลังงานทางเลือกเพื่อให้ประชาชนมีทางเลือกในการลดค่าใช้จ่ายในพลังงานเชื้อเพลิงลงได้ จึงมีประชาชนจำนวนมาก เปลี่ยนจากการใช้น้ำมันในการขับเคลื่อนพาหนะมาใช้ LPG กันมากขึ้น ข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับ LPG รถยนต์ ที่ควรรู้คือ

                 LPG มีค่าออกเทนสูงกว่าน้ำมัน ~ 100-115 ข้อดีของ LPG คือ มีการเผาไหม้สมบูรณ์กว่าน้ำมัน เครื่องยนต์จึงสะอาด ไม่มีเขม่าค้างในเครื่องยนต์ แก๊สที่เหลือใช้ในห้องเผาไหม้จะระเหยออกไปได้หมดจะสังเกตุได้จากรถที่ใช้ LPG เป็นเชื้อเพลิง ในขณะที่น้ำมันเบนซินเมื่อเหลือจากการเผาไหม้จะไปละลายฟิล์มของน้ำมันหล่อลื่นที่เคลือบอยู่บนลูกสูบและกระบอกสูบ ทำให้ประสิทธิภาพในการหล่อลื่นเครื่องยนต์ลดลง และเมื่อ LPG ไม่มีสารตะกั่วเจือปน และมีการเผาไหม้สมบูรณ์ จึงไม่ก่อให้เกิดมลภาวะทางอากาศ และ LPG เป็นเชื้อเพลิงที่มีความดันในตัวเองเนื่องจากเป็น GAS เพราะฉะนั้นเครื่องยนต์ที่ใช้แก๊สชนิดนี้ จึงสามารถสตาร์ทติดได้ง่าย

                กล่าวถึงข้อดีไปแล้วจะไม่กล่าวถึงข้อเสีย ก็จะเป็นการให้ข้อมูลฝ่ายเดียวจนเกินไป ข้อเสียของ LPG รถยนต์ คือ รถยนต์ที่ใช้แก๊ส LPG จะต้องปรับเปลี่ยนติดตั้งอุปกรณ์แก๊สสำหรับรถยนต์เพิ่มเติม ซึ่งหากไม่ใช่อุปกรณ์ที่ทางบริษัทผลิตรถติดตั้งมาให้ ทางผู้เปลี่ยนก็ต้องเสียค่าใช้จ่ายเพิ่มเอง รวมทั้งอาจจะมีผลกระทบต่อการรับประกันจากบริษัทรถยนต์อีกด้วย และการเติมแก๊สในรถยนต์ต้องใช้ความระมัดระวังสูงกว่าการเติมน้ำมัน โดยต้องระวังอย่าให้มีประกายไฟเกิดขึ้นในบริเวณใกล้เคียง ห้ามสูบบุหรี่ขณะโดยสารอยู่บนรถ หรือในขณะเติมแก๊สโดยเด็ดขาด เพราะแก๊สมีความไวสูงต่อความร้อนอาจจะเกิดการระเบิดขึ้นได้

                 ปัจจุบัน ราคาน้ำมัน Gasohol 91 พุ่งสูงขึ้นถึง 40 บาทต่อลิตร ซึ่งในขนาดที่ราคา GAS LPG ยังคงราคาที่ 13 บาทต่อลิตร ซึ่งจะเห็นได้ชัดว่าหากเราลงทุนติดแก๊สในตอนนี้ จะทำให้เราประหยัดค่าเชื้อเพลิงได้ถึง 300% และหากเราติดตั้งอุปกรณ์แก๊สที่มีคุณภาพมาตราฐาน และหมั่นเข้าตรวจเช็คสม่ำเสมอก็จะยืดอายุการใช้ของรถยนต์ของท่านได้อีกนานแสนนาน พูดง่ายๆคือคุ้มค่ากับการลงทุนแน่นอน

ระบบแก๊ส NGV และ LPG มีข้อเปรียบเทียบกันได้ ดังนี้

1. น้ำหนักของถัง

ถังใส่แก๊ส NGV มีน้ำหนักถัง 85 -100 กิโลกรัม

ถังใส่แก๊ส LPG มีน้ำหนักถัง 20 กิโลกรัม

2. แรงดันของแก๊ส

แรงดันของแก๊ส NGV มีถึง 200 บาร์ ทำให้ต้องใช้ถังที่มีความหนากว่า แข็งแรงกว่าเพื่อรับแรงดัน

แรงดันของแก๊ส LPG มีเพียง 10 บาร์

 3. ระยะทางการขับรถต่อถังแก๊ส NGV และถังแก๊ส LPG

แก๊ส NGV 1 ถังสามารถขับรถวิ่งได้ไกล 100 - 150 กิโลเมตร

แก๊ส LPG 1 ถังสามารถขับรถวิ่งได้ไกล 400 - 500 กิโลเมตร

  4. จำนวนสถานีบริการแก๊ส ทั่วประเทศไทย

ปั๊มแก๊ส NGV มีจำนวนมากกว่า 5,000 แห่ง ทั่วประเทศ

ปั๊มแก๊ส LPG มีจำนวนมากกว่า 70,000 แห่ง ทั่วประเทศ

  5. กำลังเครื่องยนต์

การติดตั้งระบบแก๊ส NGV จะทำให้กำลังเครื่องยนต์ ลดลง 15-20%

การติดตั้งระบบแก๊ส LPG นั้น อัตราการเร่ง และกำลังเครื่องยนต์ยังคงเดิม ซึ่งใกล้เคียงกับการใช้น้ำมันมากที่สุด 

  6. ความปลอดภัยจากการใช้ระบบแก๊สรถยนต์ NGV และ LPG

ทั้งระบบแก๊ส NGV & ระบบแก๊ส LPG มีความปลอดภัยเหมือนกันและเท่าๆ กัน
ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับอุปกรณ์ระบบแก๊สที่ติดตั้งจะต้องมีคุณภาพ ได้รับรองมาตรฐาน และช่างหรือวิศวกรที่ทำการติดตั้งจะต้องมีความรู้ ความชำนาญในเรื่องของการติดตั้งระบบแก๊สโดยตรง และควรผ่านการอบรมซึ่งได้รับการรับรองจากกรมธุรกิจพลังงานด้วย

ข้อมูลนี้อาจจะพอช่วยเพื่อนๆในการตัดสินใจติดตั้งแก๊สระบบ LPG หรือ NGV ได้ง่ายขึ้น



นอกจากการดูแลรักษาเครื่องยนต์ตามปกติ เช่น เช็คของเหลวหล่อลื่นและหล่อเย็น เช็คสายพาน เช็คสายไฟ เช็คหัวเทียน และระบบเชื้อเพลิงปกติแล้ว ขั้นตอนวิธีการตรวจเช็ครถติดแก๊ส ให้ใช้งานการติดแก๊สอย่างปลอดภัยมีดังนี้
1. ถังแก๊ส
สำรวจกลิ่นอย่างเป็นประจำ ซึ่งกลิ่นของแก๊ส CNG และ LPG จะต่างกัน ส่วนการตรวจเช็คจุดรั่วนั้น สามารถทำได้โดยเอาน้ำสบู่ลูบตามท่อในจุดต้องสงสัย แล้วสังเกตฟองที่ผุดขึ้นมาต่อเนื่อง

2. ระบบน้ำเข้าหม้อต้มแก๊ส
หากมีรอยเปียกซึมหรือพบคราบตะกรัน ควรรีบเข้าศูนย์เพื่อเปลี่ยนท่อหรือหม้อต้มใหม่ทันที และมีการล้างหม้อต้มที่ควรทำเมื่อใช้งานไปในระยะเวลา 12-18 เดือน

3. หม้อต้มแก๊ส
ตรวจเช็คการติดตั้งแน่นหนา และติดตั้งในตำแหน่งไม่ใกล้แบตเตอร์รี่หรือคอยล์จุดระเบิด

4. น้ำมันเครื่อง

เปลี่ยนตามกำหนดทุกครั้ง และใช้เกรดน้ำมันเครื่องที่ถูกผลิตมาเพื่อใช้รถติดแก๊สโดยเฉพาะ เพื่อยืดอายุการใช้งานเครื่องยนต์

5. หัวเทียน
เช็คสภาพและเปลี่ยนหัวเทียนบ่อยขึ้นเล็กน้อย หรือเลือกเกรดดีขึ้นกว่าเดิม ถ้าหัวเทียนเป็นเกรดธรรมดา ควรเปลี่ยน ทุกๆ 10,000 กิโลเมตร หรือ 1 ปี ถ้าเกรดอิริเดียมหรือแพลทตินั่ม สามารถยืดอายุไปได้เกือบเท่าตัว
 
6. ตั้งวาล์ว
เมื่อมีการใช้งานครบระยะ 40,000 - 60,000 กม. (ขึ้นอยู่กับการใช้งาน)

7. ไส้กรองแก๊ส
ควรทำความสะอาดหรือเปลี่ยนใหม่ พร้อมกับการเช็คระยะ ประมาณ 12-18 เดือน (ขึ้นอยู่กับการใช้งาน)




 

 


ดาวน์โหลด ENERGY REFORM App
ผลิตภัณฑ์สาน หล่อลื่น ENERGY 1
เกร็ดความรู้การใช้แก๊ส
ENERGY Channel
คำนวณค่าเชื่อเพลิง LPG-น้ำมัน
ค้นหาศูนย์ติดตั้งในเครือ ENERGY REFORM
ราคากลางติดตั้งแก๊สมาตรฐาน และน้ำมันเครื่อง ENERGY 1
ร่วมงานกับ ENERGY REFORM
ตรวจสอบรุ่นรถ และอุปกรณ์ติดตั้งแก๊ส
หน้าหลัก
ผลิตภัณฑ์
ข้อมูลสำหรับการติดแก๊ส
ศูนย์บริการ ENERGY